วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

assignment:3

งานชิ้นที่ 1





Gant Charts






Pert Chart



โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมด 15 วัน

เส้นทางวิกฤต






งานชิ้นที่ 2




Gant Charts




Pert Charts

โครงการนี้ใช้เวลาทั้งหมด 35 วัน

เส้นทางวิกฤต


วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

assignment 2


ระบบสารสนเทศทางการตลาด

 (Marketing Information System : MKIS)

                หมายถึง กระบวนการเพื่อการรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูลทุกชนิดที่เกี่ยวข้องทางการตลาดอย่างเป็นระเบียบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินการทางกการตลาด เพื่อตอบสนองความพอใจของตลาด

การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ ลูกค้า สนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

1.) การปฏิบัติงาน (operations) แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด

2.) การวิจัยตลาด (marketing research) ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด

3.) คู่แข่ง (competitor) ต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและ ศักยภาพ

4.) กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญ เป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ

5.) ข้อมูลภายนอก (external data) Kotler ได้ให้นิยามไว้ว่าระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึงระบบที่ประกอบด้วยคนเครื่องมืออุปกรณ์ และกระบวนการเก็บรวบรวม จําแนกแยกประเภท วิเคราะห์ประเมินตลอดจนการแจกจ่ายสารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ ทันเวลาและตรงตามความต้องการโดยนําเสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการตลาด ซึ่งก็คือ

-                   Hardware หรือตัวอุปกรณ์

-                   Software หรือโปรแกรมที่นำมาใช้งาน

-                   บุคลากรหรือพนักงานที่ทำงาน

-                   ฐานข้อมูลที่นำมาใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล

ระบบสารสนเทศทางการตลาด


1.) ระบบสารสนเทศภายในกิจการ (Internal Records System) ประกอบด้วย วงจรการสั่งซื้อและการเก็บเงินระบบข้อมูลการขายเพื่อให้ผู้จัดการการตลาดทราบผลการดำเนินงานในปัจจุบัน

2.) ระบบข่าวกรองทางการตลาด (Marketing Intelligence System) เป็นกระบวนการที่ผู้จัดการการตลาดจะใช้เพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

3.) ระบบการวิจัยการตลาด (Marketing Research System) หมายถึงการออกแบบระบบการวิจัย การเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการรายงานข้อมูล การค้นหาคำตอบในสิ่งที่สนใจหรือเป็นปัญหาทางการตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา

4.) ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด (Marketing Decision Support System) ถือเป็นกระบวนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบและหลักเกณฑ์ โดยนำเอาเทคนิคของการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติมาสร้างตัวแบบจำลองเพื่อนำมาใช้หาผลลัพธ์หรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด

ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการผลิต

หมายถึง  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน  ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน  การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ  โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน

1.) สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนด้านการดำเนินการผลิต ด้านควบคุมคุณภาพ ด้านการแก้ปัญหา

2.) สารสนเทศเชิงบริหาร  คือ  สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต ด้านออกแบบ การวางแผน การจัดการโลจิสติกส์ การควบคุมการผลิต

3.) สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ประเภท คือ  สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ และ  สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ

ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการเงินและบัญชี

การจัดทำเงินและบัญชี จัดเป็นงานสนับสนุนที่สำคัญของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงาน หรือนโยบายที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ได้ โดย งานการเงิน  มีหน้าที่ ในการบันทึกและดูแลจัดเตรียม เช็คสั่งจ่าย การรับเงิน การจัดเก็บเงิน การนำเงินฝากธนาคาร รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้อง เงินฝากธนาคาร และ งานบัญชี  มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี และการจัดเก็บเอกสารทางบัญชี

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี

 1.) ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่างๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่างๆ เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ              

2.) ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน

1.) การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ 

2.) การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น 

3.) การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ  การควบคุมภายใน(internal control)  และ การควบคุมภายนอก(external control)


ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการตัดสินใจ

Decision Support Systems (DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ

1.)        การตัดสินใจแบบโครงสร้าง (Structure)     

เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

2.)        การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructure)     

การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม ตอบและการวิเคราะห์

3.)        การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)    

เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

แบ่งออกเป็น 3 ระบบ

ระบบนัดหมาย

1.)        ระบบนัดหมายส่วนบุคคล หรือปฏิทินการทำงานส่วนบุคคล

เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไป ระบบนี้มีลักษณะคล้ายสมุดนัดหมายส่วนบุคคลที่เป็นกระดาษที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี

2.)        ระบบนัดหมายกลุ่ม

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม หรือที่เรียกว่าระบบนัดหมายกลุ่ม จัดเป็นพัฒนาการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนัดหมายบุคคล การใช้งานของระบบนัดหมายกลุ่มจะบังเกิดผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ ประการแรก สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องใช้ระบบนัดหมายส่วนบุคคลในการบริหารเวลาของตนเอง และระบบนัดหมายส่วนบุคคลนั้นควรเป็นระบบเดียวกัน หากเป็นคนละระบบก็ต้องใช้รูปแบบของข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้สามารถแสดงผลพร้อมกันได้ และอีกประการหนึ่งคือ ระบบนัดหมายส่วนบุคคลที่สมาชิกทุกคนใช้จะต้องสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบติดตามงาน

1.) ระบบติดตามงานส่วนบุคคล เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับนาฬิกาปลุกและเครื่องคิดเลข ที่มักเป็นส่วนเสริมอยู่ในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลแทบทุกระบบ ระบบติดตามงานบุคคลหมายถึง บัญชีรายการงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ มีระบบช่วยเตือนความจำ 3 รูปแบบ ได้แก่

- ป้อนข้อความเตือนความจำเข้าสู่ระบบนัดหมายส่วนบุคคลโดยอัตโนมัติ เพราะระบบทั้งสองเชื่อมโยงกัน

- มีหน้าต่างเตือนความจำ แสดงขึ้นที่หน้าจอเมื่อมีการเปิดเครื่อง

- ส่งข้อความเตือนความจำผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงผู้ใช้

2.) ระบบติดตามงานกลุ่ม บุคลากรทุกคนต้องใช้ระบบติดตามงานส่วนบุคคลในการบริหารงานและเวลาของตนเองและระบบที่ใช้ควรเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ สำหรับระบบนัดหมายกลุ่ม

ระบบติดต่อสื่อสาร

1.) ระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน ระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐานมีลักษณะคล้ายสมุดจดที่อยู่ที่เป็นกระดาษ แต่การค้นหาข้อมูลมีการจัดเรียงลำดับในลักษณะต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้งาน เช่น เรียงตามชื่อสกุล ชื่อหน่วยงานที่สังกัด

2.) ระบบติดต่อสื่อสารแบบซับซ้อน เช่น ระบบโทรศัพท์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

assignment1:CASE STUDY



MK Restaurants


ลักษณะการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ มีร้านสุกี้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ร้าน เอ็ม เค เรสโตรองต์ (ร้าน เอ็ม เค สุกี้) และ ร้าน เอ็ม เค โกลด์ เรสโตรองต์ (ร้าน เอ็ม เค โกลด์) โดยบริษัทฯ ได้วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการของร้านแยกตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยแต่ละร้านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้สามารถเข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างทั่วถึง เช่น ร้าน เอ็ม เค สุกี้ จะเน้นกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง (Mass Customization) ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน นักเรียนนักศึกษา เพื่อนร่วมงาน ที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง ในขณะที่ร้าน เอ็ม เค โกลด์ จะเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (Specialty Restaurant) ได้แก่ลูกค้าร้าน เอ็ม เค สุกี้ เดิม กลุ่มเพื่อน หรือนักธุรกิจที่ต้องการใช้ร้านเอ็ม เค โกลด์ เป็นสถานที่เลี้ยงรับรองลูกค้า หรือกลุ่มคนในโอกาสพิเศษ



ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่
เป็นระบบเสริมของโปรแกรมบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารที่ออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการทำงานหน้าร้าน เนื่องจากมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับส่งข้อมูลรายการได้อย่างรวดเร็วและมีการเชื่อมต่อสัญญาณระบบ Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพ โดย PDA เป็นตัวรับ Order แล้วส่งผ่าน Wire-less ไปที่ Back office ซึ่งสามารถประมวลผลจาก PDA ไปยัง ห้องครัว (มีหลายห้องได้) รวมทั้งไปยังบาร์น้ำ และ Back Office ยังสามารถทำงานกับ database ได้หลายตระกูล และยังสามารถเชื่อมข้อมูลได้หลาย ๆ สาขา สำหรับเครื่อง PDAใช้ hp ipaq 4150 มี 17 เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อมีสองเครื่อง คือ เครื่องหลัก และเครื่องรอง   ทำงานโดยการจดออเดอร์ ลงPDA ที่ลงโปรแกรมโดยเฉพาะ เมื่อกดบันทึก หรือ จบรายการ รายการที่บันทึกไว้ก็จะส่งไปยังห้องครัว เมื่อครัว ต่างๆ รับรายการ ก็จัดส่งตามโต๊ะ ค่าใช้จ่าย หรือ ของคงเหลือ ก็จะถูกส่งเข้าไปในระบบ ทำให้เกิดการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  





ความรู้หรือแนวคิดที่ได้รับจากการศึกษา


                การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินธุรกิจนั้น สามารถลดค่าต้นทุนใช้จ่ายและจำนวนพนักงานที่รับภาระให้น้อยลง และไม่ทำให้เกิดความวุ่นวายในร้าน การนำเอาระบบ PDA มาช่วยจดจำข้อมูลที่รับ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน มีความแม่นยำในการทำงานมากขึ้น ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจจากการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว และถูกต้อง ส่งผลให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว